ช่วยลูกต่อต้านเทรนด์เรื่องรูปร่างแบบผิดๆ
เทรนด์เรื่องความผอมแบบต่างๆ เข้ามาอยู่ในกระแสเกือบทุกเดือน ไม่ว่าจะเป็น “สาวไซส์มินิ” (size 000) , “ต้นขาเรียวเล็ก” (thigh gap) หรือ “กล้ามท้อง” (ab crack) แล้วคุณจะป้องกันไม่ให้เด็กๆเห่อตามกระแสลดหุ่นในโลกโซเชียลได้อย่างไรบ้าง และจะช่วยให้ลูกๆหันมาสนใจเรื่องของสุขภาพและการดูแลตัวเองอย่างแท้จริง แทนที่จะเป็นเรื่องการมีรูปร่างที่เลิศเลอเพอร์เฟคได้อย่างไร
เทรนด์ “หุ่นดี” ที่เปลี่ยนไปในแต่ละยุค
ในสมัยเรเนซองส์ จิตรกรได้สื่อถึงความสวยงามด้วยภาพผู้หญิงอวบอิ่ม จนเมื่อกระแสเคลื่อนเข้าสู่ยุควิคตอเรียน หุ่นทรงนาฬิกาทรายก็เข้ามาแทนที่ ในขณะที่รูปทรงไร้ความโค้งเว้ากลับเป็นที่นิยมในยุค 20 ก่อนหุ่นเซ็กซี่สไตล์ดาราฮอลิวูดในยุค 50 จะเข้าครองเทรนด์ และถูกแทนที่ด้วยเทรนด์อื่นๆในยุคต่อๆ มา จนกระทั่งเข้ามาสู่โลกแห่ง ทวิตเตอร์, อินสตาแกรม, บล็อก และ มีม ที่สามารถส่งเทรนด์ล่าสุดให้กระจายไปทั่วโลกภายในไม่กี่ชั่วโมง จนทำให้เด็กๆถูกจู่โจมด้วยภาพเทรนด์ใหม่ล่าสุดที่ต้องทำตาม
กระแสฮิตๆ อย่างการมี “กล้ามท้อง” (ab crack) – ร่องที่แบ่งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง และ “ต้นขาเรียวเล็ก” (thigh gap) – ช่องว่างระหว่างต้นขาเมื่อยืนเข่าชิด ที่เทรนด์เซ็ตเตอร์ เหล่าบรรดาเซเลปต่างแชร์รูปของตัวเองลงในโซเชียลมีเดีย ทำให้วัยรุ่นต้องการจะเลียนแบบ อยากจะมีรูปร่างแบบนั้นบ้าง
มาตรฐานความงามที่ฝืนธรรมชาติ
ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือลุคฮิตติดเทรนด์นี้ไม่ใช่ว่าใครๆก็ทำได้ รูปทรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และ ระยะห่างระหว่างต้นขาเป็นเรื่องของพันธุกรรม ปริมาณอาหารและการออกกำลังไม่สามารถจะช่วยให้ต้นขาเรียวเล็ก หรือ มีเส้นกล้ามท้อง หรือ มีรูปทรงแบบมินิไซส์ได้ในทันที ถ้ากรรมพันธุ์ไม่อำนวย
เทรนด์ผอมสวยนี้ที่จริงก็เป็นเรื่องที่น่าปวดหัว เนื่องจากเป็นกระแสที่แฝงมากับการดูแลสุขภาพ และเน้นให้เด็กๆยึดติดกับการบริหารร่างกายเฉพาะส่วนแทนที่จะเป็นการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี จากรูปภาพที่โพสต์ตามสื่อโซเชียล รูปร่างอินเทรนด์เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติของร่างกาย จนอาจบอกไม่ได้ว่าเป็นร่างกายที่ผ่านศัลยกรรมมาหรือไม่ (สุดท้ายแล้ว โฟโต้ช็อปก็สามารถทำช่องว่างระหว่างต้นขาให้ได้อยู่ดี)
แข่งกันหุ่นดี
ความต้องการที่จะเป็นสาวหุ่นเป๊ะได้กลายเป็นกระแสปังให้เกิดการแข่งขันชิงดีชิงเด่นผ่านสื่อโซเชียล ที่ผู้คนต่างต้องการได้จำนวนไลค์ และ แชร์ รวมไปถึงคอมเมนต์ที่ชื่นชมรูปเซลฟี่ของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้นกระแสการใส่แฮชแท็ก การส่งต่อมีม และ การแข่งขันต่างๆ อาทิ “เอวของคุณเล็กกว่ากระดาษ A4 หรือไม่” หรือ “ไหปลาร้าของคุณวางเหรียญได้กี่อัน” ยิ่งทำให้เทรนด์หยุดไม่อยู่เมื่อมีการแชร์รูปภาพการแข่งขันต่างๆเหล่านี้ในกลุ่มเพื่อน และ กลายเป็นเรื่องยากที่เด็กๆจะไม่เกาะติดเทรนด์ตามกัน
และยิ่งถ้าพวกเขาพยายามที่จะฟิตหุ่นสวยอย่างที่ต้องการ เว็บไซต์ บลอก หรือ คลิปแนะนำต่างๆ ก็จะไม่หยุดส่งข้อมูลที่การรันตีความเป๊ะปัง เว็บที่จะสร้างแรงบันดาลใจเพื่อฟิตหุ่น หรือ ผอมเร็วผอมไว มีมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าต้องการเทรนด์ไหน เนื้อหาในโลกอินเตอร์เน็ตก็พร้อมจะจัดให้
การสร้างความเชื่อมั่นในรูปร่าง
วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ และอาจมีสับสนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ จึงไม่น่าแปลกใจที่ความเชื่อมั่นในรูปร่างหน้าตาของพวกเขาจะมีความสั่นคลอน สิ่งสำคัญก็คือผู้ปกครองควรย้ำเตือนลูกๆอยู่เสมอว่าทุกคนเกิดมาแตกต่างกันทั้งรูปร่างและหน้าตา ไม่มีใครเกิดมามีรูปร่างที่เพอร์เฟค
แต่เมื่อเร็วๆนี้ ก็มีสัญญาณที่กำลังบอกว่าคำจำกัดความของคำว่าสวยในแบบเดิมๆ กำลังจะเปลี่ยนไป กระแสการมีช่องว่างระหว่างต้นขา ก่อให้เกิดกระแสเหวี่ยงวีนในอีกรูปแบบที่สาวๆหันมาโพสต์รูป ต้นขาโค้งมนแบบนางเงือก ของตนเอง พร้อมทั้งแชร์ประโยชน์ขำๆ อย่าง มือถือของเราจะไม่มีทางหล่นลอดผ่านต้นขาไปได้ หรือ เราสามารถให้ลูกหมานั่งตักได้หลายตัวมากขึ้น
ผู้ผลิตโฆษณาจำนวนมากได้หันมาหาทางที่จะเปลี่ยนคำจัดความของมาตรฐานความสวยงาม และ ได้สร้างสรรค์ความหลายหลากผ่านแคมเปญโฆษณา ไม่ว่าจะเป็น เอช แอนด์ เอ็ม, มาร์ส, ดีเซล และ บู๊ทส์ ต่างเป็นแบรนด์ใหญ่ที่ได้เข้าร่วมตามเจตนารมณ์ที่โดฟได้เคยเริ่มต้นไว้ ด้วยการใช้พรีเซนต์เตอร์ที่เป็นผู้หญิงธรรมดา ไม่ใช่นางแบบผิวขาว ผอม เพรียวอย่างที่เคยเห็นกันอยู่ทั่วไป แบรนด์ชุดชั้นในอย่าง พานาช และ เคิฟวี่ เคท ต่างใช้นางแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วไปมากกว่า นางแบบอาชีพ ในการโปรโมทชุดชั้นในสวยๆ ในขณะที่ โฆษณาแบรนด์กีฬาหรูของอังกฤษ “ดิส เกิร์ล แคน” ก็นำเสนอโดยเน้นความรู้สึกดีๆเมื่อออกกำลังกาย ที่ให้เห็นทั้งเหงื่อ การเคลื่อนไหว และใบหน้าแดงๆของความสำเร็จ
เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์, เซเรน่า วิลเลี่ยม, เคน วิทสเล็ต, ซาร่า มิลลิแคน, เคลลี่ คลากสัน, เคียร่า ไนท์ลี่ และ คิม คาดาเชี่ยน ต่างเป็นตัวอย่างเซเลปกลุ่มหนึ่งในหลายคนที่ออกมาต่อต้านการเหยียดหยามรูปร่าง หลังจากได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับน้ำหนักของตัวเองผ่านสื่อ ในขณะเดียวกันสาวร่างอวบใหญ่อย่าง อเดล, เรเบล วิลสัน และ แอชลี่ แกรม ทำให้เห็นว่าพวกเธอต่างไปสู่จุดสูงสุดในวงการเพลง การแสดง และ การเป็นนางแบบมาแล้ว
หากลูกของคุณมีความกังวลเกี่ยวกับสัดส่วน ลองแชร์ตัวอย่างเหล่านี้เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับพวกเขา
• คุยกับลูก
ลูกของคุณรู้สึกอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ลองคุยกับลูกดูว่าส่วนไหนในร่างกายที่ลูกชอบ หรือ ไม่ชอบที่สุด เพราะอะไร แล้วลองเปรียบเทียบให้ลูกฟังว่าความกังวลของคุณที่มีต่อร่างกายตัวเองเป็นอย่างไร
• รับรู้ความกังวลของลูกที่มีต่อรูปร่าง
ถ้าลูกๆของคุณมีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา อย่ามองข้าม หรือ เห็นว่า ความไม่สบายใจนี้เป็นเรื่องหยุมหยิม พยายามหาทางที่ช่วยให้พวกเขารู้สึกมั่นใจกับรูปลักษณ์ ด้วยการพาไปช็อปปิ้งเสื้อผ้าที่เข้ากับสัดส่วนเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจของลูกคุณเอง
• ระวังคำพูดที่ใช้เมื่ออยู่ใกล้ลูก
เมื่อคุณต้องการพูดถึงผู้คนไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในสื่อ หรือ คนใกล้ตัว หลีกเลี่ยงการวิพากษณ์วิจารณ์ในเชิงลบเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของพวกเขา แต่ควรพูดถึง พรสวรรค์ ความสามารถ และ คุณสมบัติดีๆ ของพวกเขาเหล่านั้น อย่าลืมว่า “การวิพากษ์วิจารณ์ความผอม” ก็ร้ายแรงไม่แพ้ “การวิพากษ์วิจารณ์ความอ้วน” โดยเฉพาะถ้าลูกของคุณเป็นเด็กโครงสร้างผอม
• ช่วยให้ลูกมองเห็นภาพรวม
ร่างกายเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ แต่ละส่วนช่วยให้วิ่ง เต้นรำ ว่ายน้ำ และ ปีนป่าย นอกจากนี้ร่างกายยังทำหน้าที่ในการอุ้มท้องและเลี้ยงทารก ร่างกายอาจจะอยู่รับใช้เราได้ถึง 80, 90, หรือแม้กระทั่ง 100 ปี จริงๆแล้วลูกของคุณต้องการอะไรจากร่างกายของพวกเขา
• ติดตามความสนใจของลูกในสื่อโซเชียล
คุณอาจไม่สามารถสำรวจทุกความเคลื่อนไหวในสื่อโซเชียลที่ลูกคุณติดตาม แต่คุณสามารถชวนลูกคุยว่าเขากำลังตามคนดังคนไหนอยู่บ้างในอินสตาแกรม ทวิตเตอร์ หรือ สื่ออื่นๆ ถามถึงเหตุผลที่ทำให้ลูกชอบคนดังเหล่านั้น แล้วเซเลปเหล่านั้นแชร์รูปหรือข้อความอะไรบ้าง และ มีผลอะไรกับโพสต์ของลูกบ้างหรือไม่
Talk to your child
Find out how they feel about their changing body. Which parts do they like most and least – and why? How do their body anxieties compare with your own?
Acknowledge their body-image concerns
If your child is worried about an aspect of their appearance, don't dismiss or belittle their concerns. Instead, look for ways you can help them feel more confident about their looks. For example, take them on a shopping trip for clothes that flatter them and enhance their favourite features
Watch your language
When you talk about people, whether in the media or your community, avoid making comments – especially negative ones – about their appearance. Instead focus on their talents, skills and qualities. Remember that 'skinny-shaming' can be just as damaging as 'fat-shaming', especially if your child has a naturally slim build
Help them see the bigger picture
Bodies are amazing. They enable us to run, dance, swim and climb; they carry and nourish babies; they may serve us for 80, 90, or even 100 years? What does your child really want from their body?
Keep track of their social media
You may not be able to scrutinise all of your child’s social media activity, but you can ask them to show you which high profile people they’re following on Instagram, Twitter and similar sites. Why do they like them? What sort of images and messages are they sharing? And do their posts influence your childs?